26 December 2012

นักโทษประหาร

ตอน 1
พฤษภาคม 2552
"พี่ยุทธ บางขวาง" ดูแลนักโทษประหาร ณ เรือนจำกลางบางขวาง
แนะนำการประหารด้วยการ "ยิงเป้า" และเล่าประสบการณ์ที่ผ่านมา
ขั้นตอนที่ให้นักโทษทำสิ่งสุดท้ายก่อนประหาร
1. ฟังคำสั่งยกฎีกา
2. เขียนจดหมายและพินัยกรรม
3. รับฟังการอ่านฎีกา
4. อาหารมื้อสุดท้าย (เป็นอาหารทั่วไปตามร้านสวัสดิการของเรือนจำกลางบางขวางจัดทำขึ้น)
5. ฟังพระเทศน์
พอหมดทั้ง 5 ขั้นตอน นำนักโทษไปประหารทันที
เมื่อเสร็จสิ้นการประหาร นำนักโทษออกจากหลัก แล้วนำไปคว่ำหน้าไว้ เพื่อสะดวกแก่เจ้าหน้าที่ที่มาพิมพ์ลายนิ้วมือ



ตอน 2
คลิปในตอนนี้กล่าวถึง "คดีข่มขืน และฆ่าด้วยความโหดร้าย" ศาลตัดสินประหารชีวิตทั้งคู่ ประกอบด้วย
1. เล่าเรื่องคดีของ "พันธุ์ สายทอง" (นักโทษประหารลำดับที่ 283) ฆาตกรโรคจิตที่ฆ่าอย่างโหดเหี้ยม ทารุณเพราะเขาเคยมีคดีติดตัว ได้รับพระราชทานอภัยโทษเมื่อ มิถุนายน 2539 ผ่านมาหกวัน เขาก็ฆ่าข่มขืน จนถูกจับได้ เมื่อปี 2540 ศาลฎีกาตัดสินประหารชีวิต เนื่องจากว่าเป็นการกระทำแบบโหดเหี้ยม ไม่สมควรอภัยโทษ สุดท้าย เขาต้องตายในหลักประหาร เมื่อ 21 มิถุนายน 2542
2. ส่วนเรื่อง "เดชา สุวรรณสุก" (นักโทษประหารลำดับที่ 284) เป็นฆาตกรที่ฆ่าและข่มขืน "น้องนุ่น" ด.ญ.สุกัญญา สุวรรณสุก ลูกสาวตัวเอง จนถูกจับกุมได้ และศาลฎีกาพิพากษาประหารชีวิต สรุปผลก็คือ "เดชา" ถูกประหารไปเมื่อ 7 กรกฎาคม 2542 (ถ้านับถึงตอนนี้ก็สิบกว่าปีแล้ว)


ตอน 3
3. เล่าเรื่อง "อำนาจ เอกพจน์" (นักโทษประหารลำดับที่ 292) ผู้จ้างวานให้ "ลูกทรพี" ฆ่าพ่อตัวเองอย่างโหดเหี้ยม ถูกจับกุมได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาประหารชีวิต เขาได้สู้ในศาลอุทธรณ์ และฎีกา ทั้งสองศาล พิพากษายืน จึงกลายเป็นนักโทษประหารทันที เขาถูกประหารเมื่อ 8 ตุลาคม 2542 (ทิ้งลูก และครอบครัวที่มีฐานะยากจนเผชิญชีวิตตามลำพัง
4. 18 เมษายน 2544 ยุคที่มีการต่อสู้สงครามกับยาเสพติด ประหารนักโทษยาเสพติดพรวดเดียวสี่คน
คือ ลี ยวน กวง (ฮ่องกง) (นักโทษประหารลำดับที่ 299), ชู ชิน ก้วย (พม่า) (นักโทษประหารลำดับที่ 300), บุญเกิด จิตรปราณี (นักโทษประหารลำดับที่ 301) ซึ่งต้องโทษในคดีเฮโรอีน พ.ศ.2536 และ วิเชียร แสนมหายักษ์ (นักโทษประหารลำดับที่ 302) ซึ่งต้องโทษในคดียาบ้า พ.ศ.2540 แล้วยังมี "รอมาลี ตาเยะ" ซึ่งต้องโทษในคดีจ้างวานฆ่าคน รวมนักโทษประหารในวันดังกล่าวห้าราย โดยมีสื่อจากทุกสำนักทั่วโลกต่างแห่กันมาถ่ายทำที่เรือนจำกลางบางขวาง
5. เล่าเรื่อง "สำรวย โตสุข" (นักโทษประหารลำดับที่ 282) ลักทรัพย์และฆ่าพระครูมรณภาพ แต่พบว่ามีผู้ต้องสงสัยเป็นจำนวนมาก และฆาตกรโหดในคดีนี้ ก็คือเขา แต่เขาปฏิเสธทุกข้อหา ซึ่งหมายความว่า ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ และฎีกา ตัดสินประหาร จนเขากลายเป็นนักโทษเด็ดขาด และเขาถูกประหารเมื่อ 21 มิถุนายน 2542
6. "สุรศักดิ์ ยิตซัง" (นักโทษประหารลำดับที่ 291) ฆาตกรใจโหดฆ่าเจ้าของร้านเสริมสวย แล้วชิงสร้อยคอหนีไป ถูกจับได้ และศาลทั้ง 3 ตัดสินประหารชีวิตสถานเดียว โดยไม่มีการลดโทษให้ และกลายเป็นนักโทษเด็ดขาด เขาถูกประหารชีวิตเมื่อ 8 ตุลาคม 2542 เวลา 18.35 นาฬิกา เป็นรายที่ 3 ของวันดังกล่าว (เพชฌฆาตมือ 2 ทำการประหาร) ซึ่งก่อนหน้าคือ "อนันต์ โคตรสมบัติ" (นักโทษประหารลำดับที่ 290)

 

ตอนจบ
เล่าเรื่องถึง "อดีตนักโทษ" ที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ และเขาไม่อยากฆ่าคนอีกแล้ว เลยเปิดร้านขายไก่ทอดสุโขทัย สูตรโบราณ ที่จังหวัดระยอง เพื่อตอบแทนบุญคุณ ซึ่ง "พี่ยุทธ" ไปด้วย

งามเนตร

งามเนตร..

เนตรงามยามพิศเพี้ยง.........ดาราฉาย
โสมส่องแสงแพรวพราย.......ประดับนั้น
งามนวลผ่องผิวกาย..............มณีหนึ่ง
สวยส่งสรรค์เสกปั้น..............เนตรด้วยใจนวล..


สาวสวยชาวสัตหีบตัวนี้ สูญเสียสายตาตั้งแต่เด็กด้วยไวรัสชนิดร้ายแรง

เจ้าของรักปานดวงใจ ประคบประหงม ดูแลเอาใจใส่รักษายามป่วยไข้

ขณะที่เธอก็เป็นสาวใจสู้ เด็ดเดี่ยว แกร่งกล้าในโลกมืด ไม่เคยยอมแพ้กับชะตา

ได้มีโอกาสเจอเธอ กอดเธอแล้วหลายครั้ง ทุกครั้งเธอจะต้องทำให้ยิ้มทั้งน้ำตา

ด้วยรู้สึกรักและสงสารจับหัวใจ

น้องนัสคนสวย เจ้าของหรือแม่ของเธอ เรียกเธอว่า น้องบอด ตามรูปลักษณ์

มีหรือที่ป้าคนนี้จะยอมเรียกเธอเช่นนั้น จึงเป็นที่มาของชื่อ "งามเนตร " ในปัจจุบัน

25 December 2012

ฉันชื่อ นนท์

สวัสดีครับผมชื่อ นนท์ ครับ

ประวัติ

Name : Non Madden
Birth date : 11 Nov 1991
Sex : Male
Nationality : Thai
Religion : Buddhist
Education : Network Engineering
Hobby : Search the Internet, Web Programming, Taking Photograph
Interest : Hacking, Web Security, Web Programming, Network, Hosting Configure

เล่นดนตรีวันรับน้องปี 2011


เล่นดนตรีวันรับน้องปี 2011




ข้างบนนี้เป็นวีดีโอที่มีอาจารย์อัดไว้ให้ในวันจริงและส่วนหนึ่งเป็นวีดีโอตอนที่อยู่ในห้องซ้อม เพลงที่เราเลือกเล่นคือ 1.เพลง ฉันหรือเธอที่เปลี่ยนไป (ผมร้องและเล่นกีต้าร์)
2.เพลง ทุ้มอยู่ในใจ
3.เพลง อย่างน้อย

แต่วันจริงเล่นได้แค่สองเพลงคือ ทุ้มอยู่ในใจ, อย่างน้อย

18 December 2012

รวมข้อเขียนเรื่อง ความจริงคือ...การปลดหนี้ IMF ไม่ใช่ผลงานคุณทักษิณ

รวมข้อเขียนเรื่อง ความจริงคือ...การปลดหนี้ IMF ไม่ใช่ผลงานคุณทักษิณ


entry นี้เป็นเรื่องที่ผมเคยเขียนไว้แล้วจำนวนสี่ตอน หลายท่านเคยได้อ่านแล้ว แต่เพื่อเนื้อหาที่ต่อเนื่องจึงได้นำมาเรียบเรียง ให้อยู่ใน entry เดียวกัน เพื่อสะดวกในการอ่าน และสำหรับผู้ที่ต้องการเผยแพร่ต่อครับ
รวมข้อเขียน
เรื่อง
"ความจริงคือ...การปลดหนี้ IMF ไม่ใช่ผลงานคุณทักษิณ"
"คมช. ...ออกไป!!!"     "เจ๊ง!...เครียด...คิดถึงทักษิณ"     หรือบางคนเติมลงไปว่า "เศรษฐกิจเจ๊ง!...เครียด...คิดถึงทักษิณ"
   นี่คือประโยคยอดนิยมที่พูดกันติดปากใน การชุมนุมของกลุ่ม นปก.ที่ท้องสนามหลวงเมื่อ ส.ค. 2550 เนื่องด้วยภาพของภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 นั้นยังตราตรึงใจใครหลายคน โดยเข้าใจว่าผู้ที่กู้วิกฤตเศรษฐกิจนั้นคือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
   แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างที่หลายคนคิด! เพราะเรื่องของเศรษฐกิจนั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย ไม่ได้จำเพาะเจาะจงในเรื่องของปัจจัยทางการเมือง พรรคการเมือง หรือตัวบุคคลเพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น!
   เศรษฐกิจ หรือเรื่องของปากท้อง มีความสัมพันธ์กับความนิยมที่มีต่อผู้นำประเทศในแต่ละช่วงอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้...ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มีหลักคิดพื้นๆเพียงว่า "หากเศรษฐกิจช่วงไหนดีจะยกประโยชน์ให้รัฐบาลที่บริหารประเทศในขณะนั้น" และ "ถ้าเศรษฐกิจช่วงไหนไม่ดีจะโยนบาปให้รัฐบาลที่บริหารประเทศขณะนั้นเช่นกัน"
   เนื่องด้วยหลายคนไม่ได้ศึกษาเรื่องความเป็นไปทางเศรษฐกิจ หรือไม่ได้รับข้อมูลที่แท้จริง รังแต่จะเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจาก ความเป็นจริง...
   การปลดหนี้ IMF ไม่ใช่ผลงานคุณทักษิณ ไม่ใช่คุณทักษิณมาบริหารประเทศเพียง 2 ปีแล้วใช้ความสามารถของตนเองล้วนๆ ทำให้ไทยปลดหนี้ IMF ได้ และก็ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาโดยรัฐบาลชวน 2 เพียงผู้เดียวเท่านั้น เพราะปัจจัยสำคัญอีกประการคือ "วงจรธุรกิจ" หรือ "วัฏจักรเศรษฐกิจ" ที่มีขึ้น-ลงตามรอบปกติอยู่แล้ว รวมไปถึงธรรมชาติของค่าเงินที่เปลี่ยนจาก 25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่จะแปลงวิกฤตเป็นโอกาสสำหรับภาคการส่งออกทันที
มาดูกันดีกว่าครับว่าปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ประเทศไทยฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540
ปัจจัยที่ 1 ค่าเงินบาทที่มีผลต่อการส่งออกหลังปี 2540
   การประกาศลอยตัวค่าเงินบาทวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 (กรณีของไทยเมื่อลอยแล้วเงินบาทอ่อนค่าลงจาก 25 บาท/US$ มาเป็นประมาณ 40 บาท/US$) ส่งผลให้การส่งออกเติบโตขึ้น เนื่องจากสินค้าไทยจะดูราคา ถูกลงในมุมมองของต่างชาติทันที และคิดเป็นเงินบาทได้มากกว่าเดิม อธิบายอีกมุมก็คือ "คนอเมริกันถือเงินดอลลาร์เท่าเดิมแต่ซื้อสินค้าไทยได้จำนวนมากขึ้น" ซึ่งจุดนี้ใครๆ ก็คิดว่าคุณทักษิณทำให้ส่งออกได้มาก ถ้าขาดคุณทักษิณแล้วประเทศไทยคงจะแย่ นั่นเป็นความเข้าใจผิด เพราะเรื่องของ "ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง" คือ 1 ใน 3 ปัจจัยที่ทำให้การส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นจากแต่ก่อน

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้การส่งออกดีขึ้น
1. ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง
2. ราคาสินค้า
3. เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว
   นอกจากนี้การลอยตัวค่าเงินบาทมีส่วนให้ดุลการค้าของไทยเราเกินดุลอีก การดูดุลการค้าเป็นสิ่งสำคัญกว่าการดูการส่งออกอย่างเดียว เพราะนอกจากเราจะดูว่าเราขายของออกนอกไปเท่าไหร่ ต้องหักของที่เราซื้อเข้าประเทศด้วยไม่ว่าจะเป็นน้ำมัน ทองคำ เหล็ก เป็นต้น
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
แผนภูมิแท่งที่มีตัวเลขกำกับสีดำ (ที่สูงกว่าเลข 0) คือ เกินดุลการค้า (ส่งออกมากกว่านำเข้า...ได้เปรียบเขา)
แผนภูมิแท่งที่มีตัวเลขกำกับสีแดง (ที่ต่ำกว่าเลข 0) คือ ขาดดุลการค้า (นำเข้ามากกว่าส่งออก...เสียเปรียบเขา)
ดุลการค้าคืออะไร?
ดุลการค้า = ส่งออก – นำเข้า

   ก่อนวิกฤติปี 40 ไทยขาดดุลการค้ามาตลอด การส่งออกยังอยู่ในระดับต่ำ แม้ว่าในบางปีจะ ส่งออกได้มาก แต่ก็ยังสู้การนำเข้าไม่ได้
   นอกจากนี้ ด้วยเหตุที่ว่าไทยไม่ใช่ประเทศที่สมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน เหล็ก ทองคำ จึงต้องนำเข้าวัตถุดิบเหล่านั้น รวมถึงเครื่องจักรและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ "อย่างเกินตัว" และเมื่อไทยจำเป็นต้องลอยตัวค่าเงินบาทย่อมส่งผลเสียต่อผู้ที่กู้เงินในรูป ของเงินตราต่างประเทศ แต่ในด้านของผลดีคือ สินค้าไทยดูราคาถูกลงในสายตาของต่างชาติในทันที! การส่งออกได้รับผลดีในช่วงแรกคือส่งออกได้รับเงินมากขึ้นโดยไม่ต้องใช้ปัจจัยใดๆ มาส่งเสริม ส่วนการนำเข้าไม่ต้องพูดถึง เพราะลดลงทันทีถึง 33.8% ในปีแรกที่ลอยตัวค่าเงินบาท คนไทยไปเที่ยวเมืองนอกลดลงทันที (ช่วงแรกๆ) ในทางกลับกันคนต่างชาติมาเที่ยวเมืองไทยมากขึ้น นี่คือกระบวนการที่เกิดขึ้นตั้งแต่คุณทักษิณยังไม่มาบริหารประเทศ
   จากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทยจะชี้ให้เห็นว่าในปี 2541 ไทยเกินดุลการค้าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2522 (ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ข้อมูลถึงแค่ปี 2522) และในปี 41 นั้นเองที่กลับเป็นรัฐบาลชวนเสียอีก ที่ดุลการค้าเกินดุลมากเป็นประวัติการณ์ คือ เกินดุลถึง 12,200 ล้าน US$ ถามว่าเกี่ยวกับคุณชวนไหม? 
   คำตอบคือ "ไม่เกี่ยว" และ "ไม่เกี่ยวกับคุณทักษิณเช่นกัน" มันเป็นไปตามอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว หมายถึง ไม่ว่ารัฐบาลชุดใด มาบริหารหลังลอยตัวค่าเงินบาท มูลค่าการส่งออกจะมีมากขึ้นทันที
เพียงแต่ในอนาคตข้างหน้า หากจะแข่งขันให้ได้ในระยะยาว ก็ต้องเน้นการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพขึ้นเรื่อยๆ
   เมื่อ การส่งออกของไทยสามารถเติบโตขึ้นได้หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 จึงเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จากเงินที่เคยสูญไปกับการปกป้องค่าเงินบาทเมื่อปี 39-40 ก็กลับเป็นการสะสมเงินทุนสำรองฯ โดยการส่งออก และการท่องเที่ยว 
ไม่ได้เป็นเพราะการบริหารงานของรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่เป็นไปตามธรรมชาติของค่าเงิน
ซึ่งกระบวนการนี้ได้เกิดขึ้นตั้งแต่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยังไม่มารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี!
   ถึงจุดนี้หลายคนอาจแย้งว่าคุณทักษิณสามารถหาตลาดส่งออกได้ แต่หากสมมติให้คุณทักษิณมาบริหารประเทศในช่วงก่อนวิกฤติ ที่อัตราแลกเปลี่ยน 25 บาท/US$ ผมรับรองได้ว่าต่อให้หาตลาดส่งออกสักเท่าใดมูลค่าการส่งออกของไทยก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้นเท่าไหร่ และจะยังขาดดุลการค้าเหมือนเดิม
   จากแผนภูมิแท่งจะเห็นว่า กลับเป็นปี 48 (สมัยคุณทักษิณ) ด้วยซ้ำไปที่ไทยขาดดุลถึงกว่า 8,000 ล้านUS$
ถามว่า...เป็นความบกพร่องของคุณทักษิณอย่างนั้นใช่หรือไม่?
หรือเป็นเพราะการเคลื่อนไหวของคุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่จัดการชุมนุมในรูปแบบของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรเมื่อปลายปี 48 ที่ทำให้ใครๆ ต่างก็บอกว่าชุมนุมจนเศรษฐกิจไทยพัง!!! อย่างนั้นใช่หรือไม่?
   คำตอบคือไม่ใช่ทั้งคู่ เพราะถ้าเราดูในรายละเอียดจะเห็นว่าเป็นเพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ขยับราคาสูงขึ้นอย่างมาก จึงเป็นผลให้ไทยขาดดุลการค้าในปีนั้น
ปัจจัยที่ 2 อัตราดอกเบี้ยต่ำที่ช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว
   ดอกเบี้ยเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดตัวหนึ่งที่จะใช้กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงซบเซา หรือลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจก็ได้ แล้วแต่สภาพเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในแต่ละช่วงเวลา
   การกำหนดทิศทางของอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งประชุมกันทุก 6-8 สัปดาห์ เพื่อประเมินแนวโน้มดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในช่วงเวลาหนึ่งๆ
   ดังนั้นในช่วงหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 "ดอกเบี้ยต่ำ" จึงเป็นตัวหลักที่ทำให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปต่อได้...ที่สำคัญ "ดอกเบี้ยต่ำ" ไม่ได้เกิดจากการสั่งการของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" แต่อย่างใด หากแต่เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจของช่วงเวลานั้น หรือเรียกง่ายๆ ว่า "เป็นไปตามกลไกตลาด"
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย (http://www.bot.or.th/)
   ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามภาวะตลาด โดยการกำหนดทิศทางโดย กนง. และนโยบายดอกเบี้ยต่ำได้เริ่มตั้งแต่ก่อนคุณทักษิณจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เมื่อ "ดอกเบี้ยต่ำ" ก็ส่งเสริมให้คนในประเทศเริ่มจับจ่ายใช้สอย
เมื่อคนเริ่มจับจ่ายใช้สอย...ก็ทำให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ หมุนเวียนไปตามร้านค้า บริษัทต่างๆ
เมื่อเงินหมุนเวียนไปตามร้านค้า บริษัทต่างๆ...ร้านค้า บริษัทต่างๆ ก็มีรายได้ และเกิดการลงทุนเพิ่ม, การจ้างงาน
เมื่อบริษัทมีรายได้ และคนมีงานทำ...ก็มีเงินใช้จ่าย และส่งภาษี
เมื่อมีเงินส่งภาษี...รัฐฯก็มีเงินงบประมาณที่นำมาใช้จ่าย (หรือใช้หนี้) ต่อไปได้
และผลก็คือเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในที่สุด
"กระบวนการนี้อาจไม่ได้เริ่มทันทีที่ใช้นโยบายนี้ แต่จะค่อยๆส่งผล...เป็นไปตามวัฎจักรของเศรษฐกิจ"
   แม้วิกฤตเศรษฐกิจปี 40 จะทำให้หลายบริษัทต้องปิดกิจการลง โดยผลกระทบเกิดกับบริษัทที่กู้เงินในรูปของเงินตราต่างประเทศ...ที่เมื่อค่าเงินบาทลอยตัวแล้วมีผลทำให้หนี้เงินกู้เพิ่มขึ้นเท่าตัวเพียงชั่วข้ามคืน...
   แต่เศรษฐกิจในส่วนอื่นแม้ว่าจะได้รับผลกระทบอยู่บ้าง แต่ยังมีกำลังพอที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไปได้ เช่นในรูปแบบของ SME หรือในภาคของสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกที่นำรายได้เข้าประเทศอย่างมาก (ส่งออกได้มากขึ้นเป็นไปตามค่าเงินบาทที่เปลี่ยนไป เพราะธรรมชาติของค่าเงินที่อ่อนตัวลงจะสร้างความได้เปรียบให้แก่ไทย...ไม่ เกี่ยวกับความสามารถของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) แตกต่างจากวิกฤต เศรษฐกิจในปัจจุบันที่เกิดจากการสร้างภาระหนี้สินอย่างกว้างขวางแก่ประชาชน ระดับรากหญ้าในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรี!
   บางคนอาจสงสัยว่า "จากกราฟ...ทำไมในช่วงต้นของรัฐบาลชวน หลีกภัย (หลังจากพลเอกชวลิต ลาออก พ.ย. 40) ดอกเบี้ยกลับเพิ่มสูงขึ้นมาก?...ตรงข้ามกับที่เราเข้าใจว่าเศรษฐกิจเกิด วิกฤตต้องลดดอกเบี้ยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
   สาเหตุที่ไทยจำเป็นต้องใช้นโยบายดอกเบี้ยสูงในช่วงแรกของวิกฤตเศรษฐกิจ เพราะตอนนั้นค่าเงินบาทอ่อนค่าอย่างไม่หยุดยั้ง จาก 25 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าจน 60 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยซ้ำไป ดังนั้นเพื่อให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพก่อน และหยุดการไหลออกของเงิน จึงต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในระดับสูง เมื่อค่าเงินบาทมีเสถียรภาพแล้วจึง ใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
นี่คือสิ่งที่ "รายการนายกฯทักษิณ คุยกับประชาชน" ทุกเช้าวันเสาร์(แต่ก่อน) ไม่เคยบอกให้กับประชาชนได้รับรู้!!!
   คุณทักษิณน่าจะรู้อยู่แก่ใจว่าปัจจัยทางเศรษฐกิจได้เอื่อต่อการบริหารประเทศบ้างแล้ว หลังจากคุณทักษิณได้เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 44 แต่ด้วย "การตลาดนำการเมือง" จึงสร้างความได้เปรียบทางการเมือง และในทางกลับกันก็สามารถสร้างความเข้าใจที่ผิดๆ แก่คนไทยจำนวนมาก
   ชาวบ้านที่ไม่รู้ไม่มีความผิด ไม่ใช่ความผิดของคนที่ไม่รู้ และผมไม่มีสิทธิ์ใช้คำดูถูกดูแคลนชาวบ้านอีกหลายคนที่ไม่รู้เรื่องราวเช่น นี้...ผมอธิบายได้เพียงเท่าที่ผมจะอธิบายได้ อยู่ที่ว่าพวกเขาจะเข้าใจหรือไม่...
ปัจจัยที่ 3 "ภาระหนี้ต่างประเทศ" ที่ลดลงตั้งแต่ก่อนพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
   เป็นที่ทราบดีว่าหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 เมื่อค่าเงินบาทลอยตัวแล้วไปในทางอ่อนค่าลงจะ ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้นทันที ตัวอย่างเช่น ราคาพวงกุญแจนำเข้าจากสหรัฐฯ มีราคาชิ้นละ 1 US$ ซึ่งก่อนลอยตัวฯ เมื่อตีค่าเป็นเงินบาทจะอยู่ที่ 25 บาท(โดยประมาณ) แต่เมื่อลอยตัว(แล้วเงินบาทอ่อนค่าลง) ราคาพวงกุญแจ ณ สหรัฐฯ แม้จะมีราคา 1 US$ เหมือนเดิม แต่ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ที่ประมาณ 40 บาท/US$ จึงทำให้ราคาพวงกุญแจนำเข้าชิ้นนั้นเพิ่มราคาเป็น 40 บาท (ถ้าคิดตามปัจจุบันพวงกุญแจพวงนี้จะคิดเป็นเงินไทยประมาณ 33.50 บาท)
   ภาระหนี้ต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน เพียงชั่วข้ามคืน วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ผู้ใดก็ตามที่กู้เงินในรูปของเงินตราต่างประเทศ เมื่อตีค่าเป็นเงินบาท ก็จะมียอดหนี้สูงขึ้น เงินบาทอ่อนตัวเท่าใด ยอดหนี้ก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น
   ซึ่งจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงให้เห็นว่าก่อนที่คุณทักษิณจะมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปี 2544 ภาระหนี้ต่างประเทศนั้นก็ได้ลดลงไปมากแล้ว จากที่เคยอยู่ในระดับ 105.1 พันล้านUS$ เมื่อปี 2541
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   จากแผนภูมิแยกให้เห็นชัดเจนว่าตั้งแต่ปี 2544-2549 คือช่วงที่คุณทักษิณบริหารประเทศ
   ในกรณีนี้หมายถึงการกู้เงินจากต่างประเทศมียอดที่ลดลง เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งปัจจัยนี้ก็ช่วยให้การบริหารประเทศในสมัยรัฐบาลทักษิณนั้นง่ายกว่า "รัฐบาลชวน หลีกภัย" อย่างมาก
   กลับเป็นช่วงก่อนเหตุการณ์ชุมนุมโดยกลุ่มพันธมิตรฯ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ด้วยซ้ำไปที่ภาระหนี้ต่างประเทศกลับมีแนวโน้มสูงขึ้น
   คำ ว่า "เจ๊ง...เครียด...คิดถึงทักษิณ" อยากให้คุณทักษิณกลับมาเป็นผู้แก้วิกฤตเศรษฐกิจนั้นเป็นคำพูดของผู้ที่ไม่ รู้ หรือรู้แล้วแกล้งไม่รู้เท่านั้น
ปัจจัยที่ 4 ยอดคงค้าง NPL ทั้งระบบ
   NPL หรือ สินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ หนี้เสีย (ภาษาปาก) ก็ได้บริหารจัดการตั้งแต่ก่อนคุณทักษิณจะเข้ามาบริหารประเทศแล้ว
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   กระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้เสียนี้จะให้ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) หรือหน่วยงานปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของแต่ละธนาคารเป็นผู้ดำเนินการ
   โดยการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เป็นการที่เจ้าหนี้และลูกหนี้สมัครใจแก้ไขปัญหาหนี้ด้วยกัน อาจทำได้ทั้งการยืดระยะเวลาชำระหนี้ การยกเว้นดอกเบี้ยผิดนัด (เนื่อง จากหลังวิกฤตเศรษฐกิจมีลูกหนี้หลายรายขาดการผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร ลูกหนี้รายนั้นจึงตกไปอยู่ในเกณฑ์ของ NPL แต่แม้จะหยุดผ่อนชำระ ดอกเบี้ยก็จะยังเดินไม่หยุด อีกทั้งมีดอกเบี้ยปรับกรณีผิดนัดอีก กลายเป็นเพิ่มภาระให้กับลูกหนี้รายนั้น การยกเว้นดอกเบี้ยผิดนัดให้แก่ลูกหนี้ จึงเป็นการช่วยให้ลูกหนี้ยังพออยู่ในสภาพที่จะสามารถชำระหนี้แก่ธนาคารได้ ต่อไป) นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนจากภาครัฐด้วย เช่น การลดค่าธรรมเนียมโอนอสังหาริมทรัพย์เหลือเพียงร้อยละ 0.01 "ซึ่งกระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นตั้งแต่พรรคไทยรักไทยยังอยู่ในช่วงก่อตั้งพรรค"
   แล้วอย่าง นี้จะเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาเพื่อทำอะไรกับ "เศรษฐกิจไทย"? ในเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ใช่ผู้แก้ไขปัญหาหลักด้วยซ้ำไป
   เรื่องของ "เศรษฐกิจ" มีองค์ประกอบของ "วัฎจักรที่มีทั้งขึ้น-ลง" เป็นตัวหลัก ส่วน "นักการเมือง" ไม่ใช่ผู้ควบคุมทุกปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ปัจจัยที่ 5 การหยุดกู้เงิน IMF ก่อนกำหนดถึง 1 ปี
   ข้อเท็จจริงอีกประการคือ เงินกู้ IMF เป็นเงินกู้แบบ Stand-by ที่มีระยะเวลาเบิกถอน 2 ปี 10 เดือน คือตั้งแต่ สิงหาคม 2540 จนถึงเดือนมิถุนายน 2543
   แต่ เนื่องจากฐานะดุลการชำระเงินดีขึ้นมาก รัฐบาลในขณะนั้นที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์จึงตัดสินใจหยุดเบิกถอนเงินกู้ ตั้งแต่ มิถุนายน 2542 หมายถึง หยุดเบิกถอนก่อนกำหนดถึง 1 ปี
(ข้อมูลจาก ธปท. อยู่ในข้อการให้ความช่วยเหลือของ IMF)
   เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ยิ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ "ไทยฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น" นั่นเอง
   คำถามมีอยู่ว่าในเมื่อปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้เอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจแล้ว แต่ทำไมประชาชนจึงยังรู้สึกว่าเศรษฐกิจไม่ดีตั้งแต่ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย?
   ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า...
1. ระยะเวลาของการเกิดผล คือ หลังจากเกิดความเปลี่ยนแปลงของทิศทางค่าเงินบาท, ทิศทางดอกเบี้ย หรือการใช้มาตรการใดๆ แล้ว ต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ขึ้น
2. เรื่องของ "ความรู้สึก" ซึ่ง เรื่องนี้กลับเป็นเรื่องหลัก ผมถือได้ว่าเป็นข้อสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะความรู้สึกของประชาชนนั้นมีผลต่อความมั่นใจในเรื่องอื่นๆ ที่จะตามมา ทั้งความมั่นใจด้านการบริโภค ลงทุน ใช้จ่าย ทั้งๆ ที่พื้นฐานทางเศรษฐกิจก่อนคุณทักษิณมาเป็นนายกฯ นั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้นมากแล้ว ดังจะเห็นได้จากหนังสือแสดงเจตจำนง ฉบับที่ 7 ฉบับ ลงวันที่ 23 มีนาคม 2542 แต่ความรู้สึกของประชาชนในขณะนั้นไม่มีความมั่นใจในตัวผู้นำประเทศคือคุณชวน หลีกภัย แต่มีทางเลือกใหม่ที่มีภาพลักษณ์ดีกว่า
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   การที่ประชาชนส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนฐานของความรู้สึก ถ้าความรู้สึกไปในทิศทางไม่ดี แต่ปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศนั้นดีพอ ก็ไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจเดินไปในทิศทางที่ดีได้
   ดังเช่นในสมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยหลายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อผู้นำประเทศในขณะนี้ "ไม่ดี" จึงเกิดความไม่มั่นใจ เพราะรัฐบาลในสมัยนั้นมาจากการทำรัฐประหาร ผลกระทบก็เป็นอย่างที่เห็น กัน (แต่สถานการณ์ปัจจุบันแตกต่างกับวิกฤตปี 40 ตรงที่ปี 2540 นั้นประชาชนระดับรากหญ้าไม่ได้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่ากับปัจจุบันนี้!)...
   อย่างในกรณีที่หลายคนกังวลว่า IMF จะกลับเข้ามาอีกรอบนั้นก็เป็นความเข้าใจที่ผิดๆ สำหรับผู้ที่ไม่รู้ข้อเท็จจริง
   เป็น ไปไม่ได้ว่า IMF จะเข้ามาอีกรอบในปัจจุบันนี้อย่างที่คุณทักษิณเคยกล่าวไว้ในทำนองว่าถ้าไม่ ใช่คุณทักษิณเป็นผู้บริหารประเทศ ประเทศไทยจะเดินไปสู่ IMF อีกรอบ...ถ้า คุณเชื่อคำที่คุณทักษิณเคยบอกไว้ แสดงว่าคุณอาจจะยังไม่ทราบข้อมูลที่ครบถ้วน ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหญ่...ก็เพียงแค่คุณทำความเข้าใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อเท็จจริง
ในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มักมีคำกล่าวในทำนองที่ว่า
"ถ้าไม่อยากให้ IMF กลับมาเลือกไทยรักไทย...แต่ถ้าเลือกประชาธิปัตย์ IMF กลับมาแน่!!!"
   คำกล่าวในทำนองนี้ออกมาจากอดีตพรรคการเมืองที่ชื่อ "ไทยรักไทย" ในครั้งหาเสียงเลือกตั้งปี 2548...ด้วยความคิดที่ว่า "ไทยรักไทย" เท่านั้นที่สามารถนำประเทศไทยให้พ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ หรือ "ไทยรักไทย" เท่านั้นที่พาให้เศรษฐกิจไทยเจริญก้าวหน้าได้
   การที่ไทยต้องกู้เงิน IMF ในครั้งนั้นเป็นเพราะเงินสำรองระหว่างประเทศลดลงเหลือเพียง 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ วันที่ 30 มิ.ย. 40 โดยหมดไปกับการต่อสู้การเก็งกำไรค่าเงินบาทสมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต โดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคม 2540 ที่มีการต่อสู้การเก็งกำไรค่าเงินบาทอย่างมโหฬาร
   แต่หากได้อ่านตั้งแต่ต้นก็จะเข้าใจดีว่า แท้จริงแล้วการที่ไทยพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ได้นั้นเป็นไปตาม วัฏจักรเศรษฐกิจที่มีขึ้นและลง เป็นไปตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ช่วยส่งเสริมด้านการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ ทำให้ไทยสะสมเงินสำรองระหว่างประเทศจนทะลุ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐไปแล้ว
   ไม่ต้องพึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เงินสำรองระหว่างประเทศก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่สมัยคุณชวน จนคุณทักษิณ จนคุณสุรยุทธ์ หรือจะเปลี่ยนนายกฯ อีกกี่คนก็ตามแต่...เงินสำรองระหว่างประเทศก็มิได้ลดลง
   เพราะประเทศไทยไม่ได้นำเงินสำรองระหว่างประเทศไปต่อสู้การเก็งกำไรค่าเงินบาทอย่างเช่นสมัยพลเอกชวลิต
   เพราะไทยได้เปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว จึงขึ้นลงตามปริมาณเงินตราต่างประเทศ ไม่สามารถเก็งกำไรได้ง่ายดายดังเช่นแต่ก่อน
   เพราะประเทศไทยมีมาตรฐานทางการเงินดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ตั้งแต่การแก้ปัญหาระบบสถาบันการเงินสมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์
   โปรดอย่าให้คนอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลอกพวกท่านอีกเลยครับ
   คงมีอีกหลายคนที่เข้าใจว่า IMF เข้ามาในยุคของรัฐบาล "ประชาธิปัตย์" แท้จริงแล้ว IMF เข้ามาตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต (พ.ต.ท .ทักษิณเองก็เป็นรองนายกฯ ในสมัยนั้น...ที่มีข้อครรหาเรื่องการรู้ข้อมูลภายในการลอยตัวค่าเงินบาท ที่ทำให้บริษัทของครอบครัวชินวัตรไม่ถูกผลกระทบจากการลอยตัวค่าเงินบาท นอกจากนี้ยังมีข้อสงสัยเรื่องการซื้อเงินดอลลาร์จำนวนมากไว้เพื่อทำกำไรบน ความขาดทุนของธนาคารแห่งประเทศไทยหลังลอยตัวค่าเงินบาทอีกด้วย) 
   รัฐบาลพลเอกชวลิตนั้นเองที่ ครม.อนุมัติให้ ดร.ทนง พิทยะ (รมว.คลัง) ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 1 (Letter of Intent : LOI) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2540 และหลังจากรัฐบาลชวลิตลงนามใน LOI ฉบับที่ 1 แล้ว พลเอกชวลิตก็ได้ประกาศลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   จะเห็นข้อความระบุไว้ว่า "ประเทศไทยมีพันธะจะต้องปฏิบัติตาม..." มันเป็นที่มาของอะไร?
   ส่วนหนึ่งมันเป็นที่มาของมาตรการลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ ที่ IMF กำหนดให้รัฐบาลที่มาบริหารงานหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจก็คือ รัฐบาลชวน 2 ที่ต้องจำกัดจำเขี่ยที่จะขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการในสมัยของรัฐบาลชวน 2 ตามที่ LOI ระบุไว้ และ สุดท้ายข้าราชการในปัจจุบันก็ไม่เคยเข้าใจว่าเหตุใดพวกเขาถึงแทบไม่ได้ขึ้น เงินเดือนในยุคชวน 2 แล้วนำมาเปรียบเทียบกับสมัยรัฐบาลทักษิณ โดยไม่ดูถึงสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   และที่สำคัญ LOI ที่ทำในสมัยชวลิตนี้ มีคุณทักษิณเป็นรองนายกฯ และมี ดร.ทนง เป็น รมว.คลัง เป็นที่มาของมาตรการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะด้านพลังงาน ที่คุณทักษิณใช้โจมตีปชป.ตอนหาเสียงปี 2544 ว่าเป็น "กฎหมายขายชาติ" โดยไม่ดูจุดเริ่มต้นว่าเริ่มที่จุดไหน
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
   ต่อข้อกล่าวหาต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมาย 11 ฉบับนั้น แท้จริงแล้วเป็น "พันธะ" ที่ได้ระบุไว้ในหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับที่ 1 เหตุผลหนึ่งก็เพื่อลดภาระของภาครัฐในยามที่ภาครัฐต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ...แต่ด้วยเกมการเมืองจึงทำให้พรรคการเมืองที่ต้องการเข้าสู่อำนาจการบริหารประเทศนั้น ใช้เป็นเครื่องมือในการโจมตีทางการเมือง...กลับเป็นคุณทักษิณที่แปรรูป ปตท. และผลักดันการแปรรูป กฟผ.? เสียเอง
   สมมติว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีที่รับช่วงบริหารงานต่อจาก พลเอกชวลิต ก็ไม่พ้นที่จะต้องออก "กฎหมายขายชาติ" เช่นเดียวกัน
   ผมขอจบบทความ "ความจริงคือ...การปลดหนี้ IMF ไม่ใช่ผลงานคุณทักษิณ" ด้วยข้อความที่ผมเคยเขียนเมื่อ พฤษภาคม 2549 ไว้ดังนี้
   "หาก ประเทศไทยไม่เคยมีนายกชื่อทักษิณ ประเทศไทยพ้นวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ได้อยู่แล้ว เพราะวิกฤตได้แก้ไขมาก่อนหน้า ตรงกันข้าม...วิกฤตปัจจุบันเกิดจากการใช้นโยบายประชานิยมสร้างนิสัยเสียแก่ ประชาชน เพื่อหวังคะแนนเสียงทางการเมือง และทำให้ยิ่งต้องใช้เงินคลังมากขึ้น...มากขึ้น
   ผู้นำประเทศที่คนไทยต้องการคือผู้ที่ยืดแนวทางการพัฒนา "คน" เป็นหลัก ผู้นำที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตัดสินใจด้วยความรอบคอบ และมีความสุจริตเป็นที่ตั้ง ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน...ไม่มีทักษิณประเทศไทยสามารถอยู่ได้และดีกว่านี้ แน่นอน...เสียดายที่คนไทยหลายคนมองเพียงสิ่งที่อยู่ตรงหน้าของตัวเอง และชื่นชมคนเล่นละครเป็นพระเอกในดวงใจ" (จาก 1 ใน 19 ล้านเสียงที่คุณทักษิณชอบนำไปกล่าวอ้างเสมอ)
ที่ว่าทักษิณเก่งนั้น คือ "เก่งประชาสัมพันธ์" จริงๆ ครับ
ไม่สงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่...เพื่อสร้างความกระจ่างแก่คนรักทักษิณที่ยังขาดข้อมูล
โดย กฤษณกมล

ปลดหนี้ IMF


ปลดหนี้ IMF ไทยเสียค่าปรับ 2,952 ล้านบาท ทักษิณ ได้หน้าบนความเสียหายของบ้านเมือง “ทักษิณ คือ ผู้ปลดแอกไทยจากการเป็นทาส IMF” ด้วยการใช้หนี้ก่อนกำหนด เป็นกลยุทธทางการตลาดที่ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง โดยการประกาศผ่านทีวีพูลของ ทักษิณ ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น พร้อมกับการรณรงค์ให้คนไทยติด “ธงชาติไทย” ไว้หน้าบ้าน ยิ่งทำให้ ทักษิณ เปรียบประดุจเทพเจ้าที่ลงมาโปรดประเทศไทยให้รอดพ้นจากหายนะ จนประกาศอิสรภา พจาก IMF ได้ ทั้งที่ความจริงรัฐบาลชวน 2 ได้ปลดแอกไทยออกจากการควบคุมของ IMF ตั้งแต่การไม่เบิกเงินงวดที่ 9 แล้ว และหากรัฐบาลชวน 2 มีโอกาสได้บริหารต่อก็คงใช้หนี้ IMF ตามกำหนด ไม่ใช้ก่อนกำหนดอย่างที่ ทักษิณ ทำเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อให้ตัวเอง เพราะทำให้ชาติเสียหายในขณะที่ตนเองได้ผลประโยชน์ทางการเมือง การชำระเงินตามข้อตกลงของ IMF มีขั้นตอนดังนี้ ช่วงปี 41-44 ปลอดการชำระเงินต้นใน 3 ปี ดังนั้นในช่วงที่รัฐบาลชวน 2 บริหารจึงเพิ่งครบกำหนดชำระคืนงวดแรกช่วง ต.ค.43 ส่วนเงินกู้ที่มาจากประเทศต่าง ๆ กำหนดชำระคืนงวดแรกต้นปี 44 โดยในสองส่วนนี้จ่ายในรัฐบาลชวน 2 ซึ่งในขณะนั้นเศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพ โดยได้ผลพวงจากการลอยตัวค่าเงินบาททำให้ส่งผลดีส่งออกที่จนงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ เมื่อรัฐบาลทักษิณเข้ามาบริหารประเทศก็มีการทยอยใช้หนี้ตามลำดับ จนกระทั่งในปี 46 มีการประกาศใช้หนี้จำนวน 4,800 ล้านเหรียญ มีกำหนด 3 งวด ๆ ละ 1,600 ล้าน ก่อนกำหนด ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีแต่เป็นผลเสียมากกว่า เนื่องจากในปี 46 IMF คิดดอกเบี้ยจากไทยเพียงแค่ 0.25 % ซึ่งต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากภายในประเทศเฉลี่ยปีละ 8 % ดังนั้นหากเรานำเงิน 4,800 ล้านเหรียญแปลงเป็นเงินไทยในอัตราแลกเปลี่ยนที่ 41 บาทในขณะนั้นจะคิดเป็นไทยได้ 196,800 ล้านบาท หากนำไปฝากธนาคารไว้ 2 ปีโดยไม่ไปชำระหนี้ก่อนกำหนด หักภาษีแล้วประเทศจะมีรายได้จากดอกเบี้ยส่วนนี้ประมาณ 28,000 ล้าน และเสียดอกเบี้ยให้ IMF ตามกำหนด 984 ล้านบาท ยังเหลือกำไรกว่า 27,000 ล้านบาท การปลดไทยจากการเป็นทาส IMF ตามแผนโฆษณาชวนเชื่อทำให้ไทยสูญเสียเงินประเทศชาติให้กับค่าการตลาดทางการเมืองของ ทักษิณ ถึง 2,952 ล้านบาท โดยเป็นผลจากค่าปรับ 2% จำนวน 3,936 ล้านบาท ลดดอกเบี้ยสองปีจาก IMF 984 ล้านบาท หักกับค่าปรับเท่ากับประเทศไทยเสียค่าโง่ในการเชิดชูทักษิณถึง 2,952 ล้านบาท ที่สำคัญไปกว่านั้นคือในขณะนั้นไทยไม่ได้มีเงินมากพอที่จะใช้หนี้ IMF ได้ก่อนกำหนด แต่รัฐบาลทักษิณ กลับใช้วิธีการไปกู้เงินบางส่วนจาก ADB ซึ่งดอกเบี้ยสูงกว่า IMF มาจ่ายหนี้ให้ IMF โดยหวังผลทางการเมืองล้วน ๆ ไม่ได้คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของชาติแม้แต่น้อย และยังส่งผลให้หนี้สาธารณะของรัฐบาลทักษิณเพิ่มสูงกว่ารัฐบาลชวน 2 ถึงกว่า 4 พันล้านบาทด้วย ประเทศไทยสูญเงิน 2,952 ล้านบาทโดยไม่จำเป็น เพื่อให้ ทักษิณ กลายเป็นฮีโร่จากการปลดหนี้ IMF บนความเสียหายของชาติบ้านเมือง และหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นเป็นดินพอกหางหมู รวมทั้งหนี้ของประชาชนก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวจากนโยบายประชานิยมของ ทักษิณ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในตอนต่อไป คนที่คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง ย่อมไม่มีวันคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศชาติ